Data Analytics of IoT Sensors for Air Quality Monitoring 28–29 กันยายน 2564

การอบรมเชิงปฏิบัติการออนไลน์ เรื่อง Data Analytics of IoT Sensors for Air Quality Monitoring 28–29 กันยายน 2564


 


 

          สมาคมศูนย์วิชาการไทย – ออสเตรเลีย ซึ่งได้ก่อตั้งขึ้นในประเทศไทยมากว่า 30 ปี  เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร และมีความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ในการจัดกิจกรรมการสัมมนา/อบรมเชิงปฏิบัติการทางวิชาการต่างๆ (https://www.tatsc.or.th/index.php/events) มาอย่างต่อเนื่อง

          ในการนี้สมาคมฯ และ ห้องปฏิบัติการอินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษาและวิจัย (Internet Education and Research Laboratory –intERLab) สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (Asian Institute of Technology –AIT) ขอเชิญผู้ที่สนใจเข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการแบบออนไลน์ การวิเคราะห์ข้อมูลฝุ่นละออง PM2.5 จาก IoT Sensos ตรวจวัดคุณภาพอากาศ จากแพลตฟอร์ม วัดฝุ่น.ไทย (https://hazemon.in.th)
ในวันอังคาร-พุธ ที่ 28–29 กันยายน 2564 เวลา 18:30-21:30 น.

          การอบรมนี้จะเน้นปฏิบัติการกรณีศึกษาการวิเคราะห์ข้อมูลจริง (use case) จาก IoT Sensors วัดคุณภาพอากาศ ในขั้นเบื้องต้น (introduction) ตั้งแต่การจัดเตรียมข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ (data integration) การสำรวจข้อมูล (data exploration) การสร้างแบบจำลองข้อมูล/โมเดล (data modelling) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ การนำเสนอข้อมูล (data visualization) ซึ่งเป็นพื้นฐานของวิทยาการข้อมูล (data science) โดยไม่มีค่าใช้จ่ายด้านซอฟต์แวร์ เนื่องด้วยซอฟต์แวร์ที่ใช้เป็น software free ทั้งหมด และเป็น software ที่ใช้งานง่าย ไม่ต้องเขียน code

วัตถุประสงค์

  • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รับประสบการณ์การวิเคราะห์ข้อมูลจาก IoT Sensors (PM2.5)
  • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ฝึกปฏิบัติการ การใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ข้อมูล 3 ตัวหลักคือ Pentaho Data Integration, R Program, และ Power BI
  • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้วิเคราะห์การสร้างโมเดลด้วย Regression
  • เพื่อสร้างเครือข่ายผู้ใช้งานที่จะร่วมมือ แลกเปลี่ยนเรียนร้ และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
    (ผู้ที่ผ่านการอบรมกับสมาคมแล้ว จะได้รับทราบข้อมูลกิจกรรมที่สมาคมจัด และ
    ทีมวิทยากรและผู้ช่วยยินดีให้คำปรึกษาในการเริ่มโครงการ)  

 

แนะนำโครงการวิจัย

IoT Sensors วัดคุณภาพอากาศ วัดฝุ่น.ไทย (https://hazemon.in.th)

Download ข้อมูลได้ที่ https://hazemon.in.th/v2/export.html

บทความวิจัย: https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0269749119306657 

https://www.researchgate.net/publication/333439492_Detection_of_PM25_plume_movement_from_IoT_ground_level_monitoring_data
(ภาษาไทย) https://drive.google.com/file/d/11nR2W2LMmf4_gEkW4cwT49cU9c173FjO/view?usp=sharing

 

ซอฟต์แวร์หลักที่ใช้ในการอบรม

1. Pentaho Data Integration (PDI)  เป็นหนึ่งในเครื่องมือ client-tools ของ Pentaho Business Analytics Platform (https://sourceforge.net/projects/pentaho/files/Pentaho-9.2/) สำหรับการจัดการข้อมูล โดยสามารถดึงข้อมูลจากหลายแหล่ง หลากหลายรูปแบบ (Extract) ทำการปรับเปลี่ยนตามที่ต้องการ (Transform) และนำลงที่เก็บปลายทาง (Load) หลายรูปแบบ โดยไม่ต้องเขียน code

2. R (https://www.r-project.org/) สำหรับการทำ Exploratory Data Analysis & Modelling โดยไม่ต้องเขียน code แต่เรียกใช้เมนู R-Commander (เหมือนเมนู SPSS) ในการวิเคราะห์ และเรียนรู้คำสั่ง R จาก R-Commander 

3. Power BI (https://powerbi.microsoft.com/)  สำหรับการนำเสนอข้อมูล (data visualization) แบบ drag and drop

 

จำนวนรับเข้าอบรมและคุณสมบัติของผู้เข้าอบรม   :  

          รับจำนวนจำกัด  30 คน  ((first come first serve)
โดยผู้สมัครต้องมีคอมพิวเตอร์ ซึ่งต้องมีคุณสมบัติดังนี้

RAM: at least 8 GB

Hard drive space: at least 30 GB free space

Processor: at least Core i5

OS: Windows 10 (64 bits)

วิธีการอบรม

          บรรยายภาพรวมของทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้อง สำหรับภาคปฏิบัติการวิทยากรจะสาธิตตามเอกสารอบรม Step by step  และให้ผู้เข้าอบรมปฏิบัติตาม (เน้นปฏิบัติการเพื่อให้ได้ Solution ที่ใช้งานได้จริง)

          โจทย์ที่ใช้ปฏิบัติการจะเป็นตัวอย่างและข้อมูลที่ต่อเนื่องกัน (อบรมแบบ Problem based)

 

การลงทะเบียนสมัครเข้าอบรม

          โปรดกรอกรายละเอียดของผู้เข้าอบรมที่เว็บสมาคม www.tatsc.or.th  เพื่อจองการสมัคร และทำบุญบริจาค 1,000 บาท ให้กับหน่วยงานดังนี้

  1. มูลนิธิศิริราช https://www.si.mahidol.ac.th/office_m/foundation/join/prasong.html
  2. สภากาชาดไทย https://www.redcross.or.th/donate/money
  3. หรือหน่วยงานการกุศลอื่นๆ

และส่งสำเนาเอกสารการโอนเงินบริจาค มาทาง e-mail:   sunee@g.swu.ac.th

เมื่อทางสมาคมได้รับเอกสารแล้วจะตอบกลับทาง e-mail (first come first serve) และจะสื่อสารผ่านทาง e-mail ในการประสานงานเกี่ยวกับการอบรม ส่งเอกสารประกอบการอบรม โปรแกรมที่ใช้ และลิงค์ google meet สำหรับการเข้าร่วมอบรม

หากมีข้อสงสัยประการใด โปรดติดต่อที่ e-mail:  sunee@g.swu.ac.th หรือที่
ผศ.ดร.สุณี  รักษาเกียรติศักดิ์  089-211-6224

 

กำหนดการอบรมเชิงปฏิบัติการออนไลน์ เรื่อง

Data Analytics of IoT Sensors for Air Quality Monitoring

28 – 29 กันยายน 2564

 

วันอังคารที่ 28 กันยายน 2564  

18:15  – 18:30 น.       ผู้เข้าอบรมลงทะเบียนออนไลน์ผ่าน Google meet
                                (หมายเหตุ: ผู้เข้าอบรมต้องลงโปรแกรมการอบรมเรียบร้อยแล้วก่อนการอบรม ตามเอกสารที่ส่งให้)

18:30  – 19:00 น.       หัวข้อที่ 1: Introduction to IoT Sensors Technology for Air Quality Monitoring
                                โดย ดร.อดิสรณ์ เลิศสินทรัพย์ทวี

19:00  – 19:30 น.       หัวข้อที่ 2: แนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลบทความวิจัย
                                “Detection of PM2.5 plume movement from IoT ground level monitoring data”
                                 โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย ขนาบแก้ว

19:30  – 21:30 น.       หัวข้อที่ 3: ปฏิบัติการ การจัดเตรียมข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์
                                 ด้วย Pentaho Data Integration (PDI)
                                 โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุณี รักษาเกียรติศักดิ์

 

วันพุธที่ 29 กันยายน 2564

18:30  – 20:30 น.       หัวข้อที่ 4: ปฏิบัติการ การใช้โปรแกรม R วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ: Descriptive Statistics,
                                Inferential Statistics for data modelling: Correlation & Regression
 (https://www.kdnuggets.com/2021/08/3-reasons-linear-regression-instead-neural-networks.html)
                                โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุณี รักษาเกียรติศักดิ์

20:30  – 21:30 น.       หัวข้อที่ 5: ปฏิบัติการ การนำเสนอข้อมูล (Data Visualization) ด้วย Power BI
                                โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย ขนาบแก้ว

 

ทีมวิทยากรจิตอาสา:       

1)   ดร.อดิสรณ์ เลิศสินทรัพย์ทวี
      ห้องปฏิบัติการอินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษาและวิจัย (Internet Education and Research Laboratory –intERLab)
      สถาบัน เทคโนโลยีแห่งเอเชีย (Asian Institute of Technology –AIT)

2)   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย ขนาบแก้ว
      คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

3)   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุณี รักษาเกียรติศักดิ์
      สมาคมศูนย์วิชาการไทย-ออสเตรเลีย

หมายเหตุ: ดูข้อมูลเกี่ยวกับวิทยากรได้ที่ https://interlab.ait.ac.th/sea-hazemon-tein-workshop2/