การบรรยาย/เสวนา และ Hackathon เรื่อง “ฝุ่น PM2.5 กับไฟป่า”

การบรรยาย/เสวนา และ Hackathon เรื่อง “ฝุ่น PM2.5 กับไฟป่า”

เสาร์ – อาทิตย์ ที่ 4 – 5 พฤศจิกายน 2566 ณ ห้อง 530 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เอกสารประกอบการบรรยาย/เสาวนา “ฝุ่น PM2.5 กับ ไฟป่า” เสาร์-อาทิตย์ ที่ 4-5 พฤศจิกายน 2566
ดร.วีรชัย ตันพิพัฒน์ https://drive.google.com/file/d/1Q01YWvtIn49Bm_0BbE7jtRFKB-jCP-Na/view?usp=sharing
ผศ.ดร.กอบศักดิ์ วันธงไชย https://drive.google.com/file/d/14AtEwsFDwf_5Z-iw7pVQew3hggfjAO4u/view?usp=sharing
รศ.ดร.ปานใจ ธารทัศนวงศ์ https://drive.google.com/file/d/1BHrd0goer6G34nUSUCiU3WshcWMjPbFc/view?usp=sharing

สมาคมศูนย์วิชาการไทย – ออสเตรเลีย ซึ่งได้ก่อตั้งขึ้นในประเทศไทยมากว่า 40 ปี  เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร และมีความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ในการจัดกิจกรรมการสัมมนา/อบรมเชิงปฏิบัติการ และงานทางวิชาการต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง

ในการนี้สมาคมฯ และ Internet Education and Research Laboratory (intERLab) Asian Institute  of Technology (AIT), คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, และภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ขอเชิญผู้ที่สนใจเข้าร่วมฟังการบรรยาย เสวนา ในหัวข้อ “ฝุ่น PM2.5 กับ ไฟป่า” และ ปฏิบัติการ Hackathon ในการวิเคราะห์ข้อมูลฝุ่น PM2.5 และข้อมูลอื่นๆ ของข้อมูลวัดคุณภาพอากาศ จากโครงข่าย IoT Sensors บนแพลตฟอร์ม วัดฝุ่น.ไทย (www.hazemon.in.th)(https://canarin.net/seahazemon/v2/map.html)  เพื่อสร้างโมเดลพยากรณ์การเกิดไฟป่า

โดยกิจกรรมจะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ

ส่วนที่ 1: วันเสาร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2566 เวลา 9:00 – 12:00 น. สำหรับบุคคลทั่วไปที่สนใจผ่าน online หรือ onsite ที่ ณ ห้อง 530 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

บรรยาย/เสวนา: ฝุ่น PM2.5 กับไฟป่า

▶ บรรยาย “สภาพไฟป่า และ ฝุ่น ในช่วง 2565-2566” 
โดย ดร.วีรชัย ตันพิพัฒน์ หน่วยวิจัยเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไฟป่าภูมิภาคอาเซียนตอนบน ศูนย์วิจัยป่าไม้
คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (http://frc.forest.ku.ac.th/sru/)

▶ เสวนา “ไฟป่า ฝุ่น และ วิถีชุมชน”
โดย ผศ.ดร.กอบศักดิ์ วันธงไชย คณบดีคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ดร.วีรชัย ตันพิพัฒน์,
นายบัญชา มุแฮ  ดอยช้างป่าแป๋ อ.บ้านโฮง จ.ลำพูน https://www.youtube.com/watch?v=E7agDYEpBbU
ดำเนินรายการโดย รศ.ดร.ปานใจ ธารทัศนวงศ์ ภาควิชาคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

▶ ข้อเสนอ งานวิจัย “ควบคุมการเผาด้วยการเผา”
โดย รศ.ดร.ปานใจ ธารทัศนวงศ์

ส่วนที่ 2: วันเสาร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13:00 – 17:00 น. และ วันอาทิตย์ที่ 5 พฤศจิกายน 2566 เวลา 9:00 – 17:00 น.

Hackathon: Forest Fire Detection Modelling

การ Hackathon นี้จะเน้นปฏิบัติการ กรณีศึกษาการวิเคราะห์ข้อมูลจริง (use case) จาก IoT Sensors จากแพลตฟอร์ม วัดฝุ่น.ไทย และ hotspot จากดาวเทียมเป็นหลัก ตั้งแต่การจัดเตรียมข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ (data integration) การสำรวจข้อมูล (data exploration) การนำเสนอข้อมูล (data visualization) การสร้างแบบจำลองข้อมูล/โมเดล (data modelling)  โดยผู้เข้าร่วมจะใช้ซอฟต์แวร์อะไรก็ได้

ความเป็นมา

ปัญหาฝุ่น PM2.5 ได้รับความสนใจจากสาธารณชนมากขึ้นทุกปี เพราะเป็นปัญหาที่หนักหน่วงขึ้น มีผลกระทบกับสุขภาพของประชาชนอย่างชัดเจน มีการพูดคุย ถกเถียง ถึงปัญหานี้ในหลายเวทีและในสื่อมวลชนอย่างกว้างขวาง ทางสมาคมฯ ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาอันหนักหน่วงนี้ ในฐานะที่เป็น สมาคมทางวิชาการ จึงใคร่ที่จะสนับสนุน ให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ถึงปัญหา แนวทางปฏิบัติ และ แนวคิดในเชิงวิชาการจากงานวิจัย จึงได้นำเสนองานเสวนา “ฝุ่น PM2.5 กับ ไฟป่า” ในครั้งนี้ โดยจะมีการนำเสนอ แนวคิดและมุมมองจากนักวิจัยด้าน วนศาสตร์ และ ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ พร้อมกับนำเสนองานวิจัย Hazemon (วัดฝุ่น) และนำข้อมูลสดจาก Hazemon มาให้ผู้สนใจ ได้เข้ามาจับต้อง ศึกษา ทดลองสร้างโมเดลด้วยตนเอง โดยผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วม Hackathon ได้

สมาคมศูนย์วิชาการไทย-ออสเตรเลีย ขอเรียนเชิญเข้าร่วมกิจกรรม การบรรยาย/เสวนา ในหัวข้อ “ฝุ่น PM2.5 กับ ไฟป่า” และ ปฏิบัติการ Hackathon ในการวิเคราะห์ข้อมูลฝุ่น PM2.5 และข้อมูลอื่นๆ ของข้อมูลวัดคุณภาพอากาศ จากโครงข่าย IoT Sensors บนแพลตฟอร์ม วัดฝุ่น.ไทย เพื่อสร้างโมเดลพยากรณ์การเกิดไฟป่า
การใช้เครื่องมือทางด้านวิทยาการข้อมูลและข้อมูลจากเครือข่าย Low-cost Sensor ช่วยในการประเมินสถานการณ์คุณภาพอากาศและปัญหาไฟป่าในพื้นที่ นำไปสู่การวางแผนและดำเนินการแจ้งเตือนและแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดผลกระทบและความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อชุมชนและสังคม

ผู้เข้าร่วมงานเสวนา จะได้รับทราบ สภาพความเป็นจริงของ ไฟป่า วิถีชึวิตชุมชน กับการเผาป่า และ ความรุนแรงของฝุ่น PM2.5 แนวทางในการควบคุมไฟป่า รับทราบถึงกิจกรรม และแนวคิดในแวดวงวิจัย เพื่อแสวงหาแนวทางลดความรุนแรงของปัญหานี้ นอกเหนือจากนี้ หากผู้ที่สนใจเข้าร่วมวิเคราะห์ข้อมูล ในงานนี้ อาจพัฒนา มาเข้าร่วมงานวิจัย อย่างจริงจังได้ในอนาคต

เกี่ยวกับ Hazemon
ทุกๆปี ภาคเหนือของประเทศไทยต้องประสบปัญหาฝุ่นขนาดเล็ก PM2.5 เป็นเวลาหลายเดือน ในช่วงที่อากาศแห้ง โดยที่ชาวบ้านไม่ทราบว่าสภาพของฝุ่นที่ตนต้องสูดดมเข้าไปอยู่ในระดับอันตรายต่อร่างกายหรือยัง ตัวเลขที่ทางการแจ้งมา อาจมาจากเรื่องวัดราคาแพงที่อยู่ห่างไกล ดังนั้นการใช้ microsensors ที่มีขนาดเล็ก ราคาไม่แพงเกินไป แต่สามารถวัดปริมาณฝุ่นละอองในท้องที่ต่างๆ และเตือนภัย แก่ผู้คนได้อย่างทันท่วงที สาเหตุสำคัญของปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กในภาคเหนือจะเลวร้ายยิ่งขึ้นเมื่อมีการเผาไหม้หรือไฟป่าอันเป็นต้นกำเนิดของควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในปี 2016 ทางคณะวิจัยด้าน Internet of Things จาก interlab AIT ได้ริเริ่มแสวงหาเทคโนโลยีที่จะหาข้อมูลสภาพฝุ่นควันที่แม่นยำทันท่วงทีในพื้นที่ที่โดนกระทบ โดยที่ต้องเป็นเทคโนโลยีที่มีราคาต่ำพอที่จะติดตั้งในหลายๆพื้นที่ได้ จึงได้ร่วมมือกับ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Piere Marie Curie ประเทศฝรั่งเศส เริ่มโครงการ Hazemon ขึ้น โดยได้รับทุน STIC-ASIE จาก รัฐบาลฝรั่งเศส ได้ออกแบบและพัฒนา IoT platform เรียกว่า Canarin สำหรับ air quality monitoring โดยมีความมุ่งหวังที่จะใช้ ข้อมูลที่เก็บได้อย่าง real-time นี้ ช่วยทำการ detect ไฟป่าด้วย งานนี้ได้ขยายต่อออกเป็น โครงการวิจัยอีกหลายโครงการในเวลาต่อมา โดยมี นักวิชาการจากหลายมหาวิทยาลัย เช่น เกษตรศาสตร์ ศิลปากร ธรรมศาสตร์ และ มหิดล เข้าร่วมงาน ได้รับทุนสนับสนุนจากแหล่งอื่นๆ เช่น AsiaConnect สภาวิจัยแห่งชาติ (วช) และ กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ ทำให้ขณะนี้ โครงการ Hazemon มี microsensor ร่วม 200 ตัว วางอยู่ในหลาย ๆ ประเทศในภูมิภาค Southeast Asia ณ ขณะนี้ และข้อมูลได้นำเสนอบน https://hazemon.in.th ทีมวิจัยได้ทำการศึกษา และสัมฤทธิ์ผลในการ detect ไฟป่า ที่จังหวัดลำพูน แบบ real-time โดยที่ระบบจะทำการวิเคราะห์ข้อมูล และพบสภาพที่ควรเชื่อว่าเป็นไฟป่า โดยอ้างอิงจาก pattern ที่เคยเรียนรู้มาจากข้อมูลเก่าๆ ทำให้สามารถแจ้งเตือนไฟ ไปให้ชุมชนในท้องที่ได้ การนำ microsensors เข้ามาใช้ในงานวิจัยด้านคุณภาพอากาศนี้ ได้พบกับความสงสัยจากนักวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมากในเบื้องต้น ในความแม่นยำของ microsensor ซึ่งทางเราไม่ได้โต้แย้ง เพียงแต่นำเสนอว่า ข้อมูลที่ได้จาก microsensors หลายๆตัวพร้อมๆกัน ย่อมมีความหมายและความสำคัญพอที่จะนำมาใช้ประโยชน์ได้ แทนที่จะอาศัยข้อมูลเพียงเครื่องวัดคุณภาพอากาศราคาแพงไม่กี่ตัวจากทั้งประเทศ ซึ่งข้อมูลที่ได้คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงในพื้นที่เพราะเครื่องวัดมีระยะห่างมาก จากผลงานวิจัยที่ผ่านมา ทีมวิจัยมั่นใจในคุณภาพของข้อมูลที่ได้จาก microsensors และจะมุ่งมั่นพัฒนางานต่อไป เพื่อให้เกิดความเข้าใจการเคลื่อนตัวของมวล PM2.5 กับการเผาไหม้ของไฟป่าให้มากยิ่งขึ้น

ประโยชน์ที่จะได้รับจากการจัดบรรยาย/เสวนา และ Hackathon “ฝุ่น PM2.5 กับ ไฟป่า”

  1. การสร้างเครือข่ายนักวิจัย “ฝุ่น PM2.5 กับ ไฟป่า”
    การเข้าร่วมในกิจกรรมช่วยสร้างเครือข่ายที่สนับสนุนการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างผู้ที่มีความรู้ด้านวิทยาการข้อมูล (Data Science) และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ในการแก้ปัญหา ฝุ่น PM2.5 ที่เกิดจากไฟป่า
  2. การพัฒนาและส่งเสริมการใช้นวัตกรรม
    การใช้เครื่องมือทางด้านวิทยาการข้อมูลและข้อมูลจากเครือข่าย Low-cost Sensor เป็นการพัฒนาและส่งเสริมการใช้นวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
  3. การช่วยเหลือชุมชนและสังคม
    การใช้เครื่องมือทางด้านวิทยาการข้อมูลและข้อมูลจากเครือข่าย Low-cost Sensor ช่วยในการประเมินสถานการณ์คุณภาพอากาศและปัญหาไฟป่าในพื้นที่ นำไปสู่การวางแผนและดำเนินการแจ้งเตือนและแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดผลกระทบและความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อชุมชนและสังคม

แนะนำโครงการวิจัย

IoT Sensors วัดคุณภาพอากาศ วัดฝุ่น.ไทย

Download ข้อมูลได้ที่ https://www.hazemon.in.th/v23.6/export.html

บทความวิจัย:

  1. Detection of PM2.5 plume movement from IoT ground level monitoring data https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0269749119306657
    (ภาษาไทย) https://drive.google.com/file/d/1adOBSDE72AKv5wEoxNylGnOtTqByW6Li/view?usp=sharing
  2. Detection of forest fires and pollutant plume dispersion using IoT air quality sensors
    https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0269749123017037
    (PDF) https://drive.google.com/file/d/1sfVo1QSrYLNJcYRTWS4aG4g_fWi9trBj/view?usp=sharing

ซอฟต์แวร์หลักที่ทีมวิจัยใช้

1. Pentaho Data Integration หรือ PDI หนึ่งในเครื่องมือ client-tools ของ Pentaho Business Analytics Platform (https://sourceforge.net/projects/pentaho/files/Pentaho-9.2/) สำหรับการจัดการข้อมูล โดยสามารถดึงข้อมูลจากหลายแหล่ง หลากหลายรูปแบบ (Extract) ทำการปรับเปลี่ยนตามที่ต้องการ (Transform) และนำลงที่เก็บปลายทาง (Load) หลายรูปแบบ  

2. R (https://www.r-project.org/) สำหรับการทำ Exploratory Data Analysis & Modelling โดยไม่ต้องเขียน code แต่เรียกใช้เมนู R-Commander (เหมือนเมนู SPSS) ในการวิเคราะห์ และเรียนรู้คำสั่ง R จาก R-Commander 

3. Power BI (https://powerbi.microsoft.com/)  สำหรับ data visualization แบบ drag and drop

4. Weka (https://www.cs.waikato.ac.nz/ml/weka/)  สำหรับทำ Machine Learning Modelling

5. Python for data science: Anaconda (https://www.anaconda.com/) and Google Colab (https://colab.google/)

6. Postgres (https://www.postgresql.org/) สำหรับเก็บข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์

7. Microsoft Excel

หมายเหตุ: ผู้เข้า Hackathon จะใช้ซอฟต์แวร์อะไรก็ได้ตามความถนัด

จำนวนและคุณสมบัติของผู้เข้าร่วม Hackathon

รับจำนวนจำกัด  4 – 5 ทีม ทีมละ 4-5 คน (บุคคลทั่วไป ครู อาจารย์ นิสิต นักศึกษา หรือ นักเรียน)โดยแต่ละทีมจะประกอบด้วย

  1. ผู้ที่มี domain knowledge เกี่ยวกับฝุ่น PM2.5 และอากาศ (business analyst) 1-2 คน
  2. นักวิเคราะห์ข้อมูล (data analyst) หรือนัก coding 2-4 คน

โดยผู้สมัครต้องมีคอมพิวเตอร์ ซึ่งต้องมีคุณสมบัติ  ดังนี้

RAM: at least 8 GB
Hard drive space: at least 30 GB free space
Processor: at least Core i5
OS: Windows 10

จะสมัครมาเป็นทีม หรือ สมัครเดี่ยวได้ (ทางผู้จัด จะจัดทีมให้)

การลงทะเบียนสมัครเข้าร่วมกิจกรรม

ส่วนที่ 1: วันเสาร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2566 เวลา 9:00 – 12:00 น. สำหรับบุคคลทั่วไปที่สนใจ ไม่มีค่าใช้จ่าย

ส่วนที่ 2: วันเสาร์-อาทิตย์ ที่ 4 – 5 พฤศจิกายน 2566 เวลา 9:00 – 17:00 น.

โดยมีค่าสมัครคนละ 500 บาท เพื่อนำเป็นเงินรางวัลให้กับทีมที่ชนะ 3 รางวัล พร้อมรางวัล Sensors

สมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ที่ ลิงค์ https://forms.gle/u2vSC13iX9G4NR2C8 หากมีข้อสงสัยประการใด โปรดติดต่อที่ e-mail:  sunee@g.swu.ac.th หรือที่
ผศ.ดร.สุณี  รักษาเกียรติศักดิ์  
089-211-6224


กำหนดการ

ส่วนที่ 1: เสาร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2566 (onsite และ online)

09:00  ถึง 09:15 น.กล่าวเปิดการบรรยาย/สัมมนา และ Hackathon
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัครา ประโยชน์ นายกสมาคมศูนย์วิชาการไทย-ออสเตรเลีย
09:15  ถึง 12:00 น.บรรยาย/เสวนา: ฝุ่น PM2.5 กับไฟป่า
– บรรยาย “สภาพไฟป่า และ ฝุ่น ในช่วง 2565-2566” 
โดย ดร.วีรชัย ตันพิพัฒน์ หน่วยวิจัยเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไฟป่าภูมิภาคอาเซียนตอนบน ศูนย์วิจัยป่าไม้
คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (http://frc.forest.ku.ac.th/sru/)

– เสวนา “ไฟป่า ฝุ่น และ วิถีชุมชน”  
โดย ผศ.ดร.กอบศักดิ์ วันธงไชย คณบดีคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ดร.วีรชัย ตันพิพัฒน์, นายบัญชา มุแฮ  ดอยช้างป่าแป๋ อ.บ้านโฮง จ.ลำพูน https://www.youtube.com/watch?v=E7agDYEpBbU
ดำเนินรายการโดย รศ.ดร.ปานใจ ธารทัศนวงศ์ ภาควิชาคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร – ข้อเสนอ งานวิจัย “ควบคุมการเผาด้วยการเผา”  โดย รศ.ดร.ปานใจ ธารทัศนวงศ์

ส่วนที่ 2: เสาร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2566  (Hackathon)

13:00  ถึง
13:30 น.
ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของแฟตฟอร์ม “วัดฝุ่น.ไทย”
โดย ดร.อดิสรณ์ เลิศสินทรัพย์ทวี
13:30 ถึง
14:00 น.
Use case AIT-Sensors ระบบเฝ้าระวังไฟป่า:
Classification Predictive Model and Deployment
โดย รศ.ดร.ธงชัย  ขนาบแก้ว
14:00 ถึง
14:30 น.
Overview: Methodology of Data Analytics
โดย ผศ. ดร.สุณี  รักษาเกียรติศักดิ์
14:30 ถึง
15:00 น.
นำเสนอโจทย์การวิเคราะห์ข้อมูล และแนวทางการวิเคราะห์เบื้องต้น
โดย ดร.อดิสรณ์ เลิศสินทรัพย์ทวี และ รศ.ดร.ธงชัย  ขนาบแก้ว
15:00 ถึง
16:30 น.
Hack for Solution – ideas
16:30 ถึง
17:00 น.
Wrap up for the day.

อาทิตย์ที่ 5 พฤศจิกายน 2566 (Hackathon)

09:00  ถึง
09:30 น. 
Recap
09:30  ถึง
11:30 น.
Hack
11:30  ถึง
12:00 น.
10 minutes Presentation (volunteer 2 groups)
12:00  ถึง
13:00 น.
Lunch
13:00  ถึง
15:00 น. 
Hack
15:00  ถึง
16:30 น.
Solution presentation (15 minutes for each group: present 10 minutes, Q/A 5 minutes)
16:30 ถึง
17:00 น.
Closing

     

ทีมวิทยากร Hackathon

  1. ดร.อดิสรณ์ เลิศสินทรัพย์ทวี
    ห้องปฏิบัติการอินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษาและวิจัย (intERLab) สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)
  2. รศ.ดร.ธงชัย ขนาบแก้ว
    คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  3. ผศ.ดร.สุณี รักษาเกียรติศักดิ์
    สมาคมศูนย์วิชาการไทย-ออสเตรเลีย
  4. นายธงไทย รุจิเวชวงษ์ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์