📣 จัดโดย: สมาคมศูนย์วิชาการไทย – ออสเตรเลีย และ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 📍 สถานที่: ห้องเรียนรู้ออนไลน์และประชุมอัจฉริยะ (ห้อง 1033), ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต 🗓 วันเวลา: เสาร์ที่ 2 สิงหาคม 2568 | 09:00 – 16:30 น. |
จดหมายเชิญอบรม
Link สำหรับสมัครอบรม
เอกสารรายละเอียดการอบรม
สมาคมศูนย์วิชาการไทย – ออสเตรเลีย เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร และมีความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ในการจัดกิจกรรมการสัมมนา/อบรมเชิงปฏิบัติการทางวิชาการ(https://tatsc.or.th/index.php/events/) มาอย่างต่อเนื่อง
ในการนี้สมาคมฯ และ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอเชิญนักวิจัย อาจารย์ นักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา และผู้ที่สนใจ เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ ในวันเสาร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2568 เวลา 9:00 – 16:30 น. ณ ห้องเรียนรู้ออนไลน์และประชุมอัจฉริยะ (ห้อง 1033) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
ที่มาและความสำคัญของโครงการ
ในกระบวนการทำวิจัย “การวิเคราะห์ข้อมูล” ถือเป็นหัวใจที่ส่งผลต่อความถูกต้อง เชื่อถือได้ และคุณค่าทางวิชาการของงานวิจัย อย่างไรก็ตาม นักวิจัย อาจารย์ และนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาจำนวนไม่น้อยยังขาดความเข้าใจที่ลึกซึ้งในหลักการและวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่แนวโน้มของการวิเคราะห์ข้อมูลได้พัฒนาไปสู่ศาสตร์ของ “วิทยาการข้อมูล” (Data Science) ซึ่งผสมผสานระหว่างสถิติ กับเทคโนโลยีการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning)
ดังนั้น สมาคมศูนย์วิชาการ ไทย-ออสเตรเลีย จึงจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการนี้ขึ้นเพื่อเสริมสร้างทักษะและเปิดโลกทัศน์ใหม่ในการวิเคราะห์และการนำเสนอข้อมูลให้แก่ นักวิจัย นิสิต นักศึกษาและคณาจารย์ ในทุกสาขา ในการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงปริมาณ ตลอดจนส่งเสริมความเข้าใจทั้งในเชิงทฤษฎีและการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลจากโจทย์และข้อมูลการวิจัยจริง ด้วยกระบวนการแบบ Problem Based Learning (PBL)
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อพัฒนาทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงสถิติและวิทยาการข้อมูลแก่ผู้เข้าร่วมอบรม
2. เพื่อเปิดมุมมองใหม่ในการใช้เครื่องมือและเทคนิคการเรียนรู้ของเครื่องกับโจทย์วิจัยจริง
3. เพื่อเสริมศักยภาพของอาจารย์และนิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และนักวิจัย ในการออกแบบงานวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเหมาะสม
4. เพื่อเปรียบเทียบและเข้าใจความแตกต่างระหว่างการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยแนวทางดั้งเดิม (เชิงสถิติ) กับแนวทางสมัยใหม่ (Data Science)
5. เพื่อสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในการแก้ปัญหาที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (data-driven solution)
กลุ่มเป้าหมาย
- อาจารย์ผู้สอนวิชาสถิติในระดับอุดมศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
- นิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
- นักวิจัยทั่วไป นักไอที และบุคคลทั่วไปที่สนใจการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติและทางวิทยาการข้อมูล
เครื่องมือและซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการอบรม
- โปรแกรม SPSS: สำหรับการวิเคราะห์ทางสถิติ
- โปรแกรม Weka: สำหรับการทำเหมืองข้อมูล (Data Mining) และ Machine Learning
- Google Colab + Python + Gemini AI/ChatGPT: สำหรับการเตรียมข้อมูลและเป็นเครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์ในกระบวนการ Data Science
- Power BI: สำหรับการสำรวจและนำเสนอข้อมูลในเชิงโต้ตอบ (Interactive EDA)
กำหนดการอบรม
วันเสาร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2568
ณ ห้องเรียนรู้ออนไลน์และประชุมอัจฉริยะ (ห้อง 1033) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
เวลา | หัวข้อ |
09:00 – 09:30 น. | การค้นหาความรู้โดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติและวิทยาการข้อมูล |
09:30 – 09:45 น. | แนะนำโจทย์สำหรับการวิเคราะห์: บทความวิจัย, Objective and Framework, Questionnaire |
09:45 – 10:30 น. | หัวข้อที่ 1: การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS (Correlation & Regression) |
10:30 – 10:45 น. | พัก |
10:45 – 12:30 น. | หัวข้อที่ 2: การทำเหมืองข้อมูลด้วย Weka (Prediction, Classification, Clustering) |
12:30 – 13:30 น. | พักกลางวัน |
13:30 – 14:30 น. | หัวข้อที่ 3: การจัดเตรียมข้อมูลด้วย Google Colab for Python + AI |
14:30 – 15:00 น. | หัวข้อที่ 4: การวิเคราะห์โจทย์วิจัยด้วย SPSS, Weka, Python และเปรียบเทียบผลลัพธ์ |
15:00 – 15:15 น. | พัก |
15:15 – 16:30 น. | หัวข้อที่ 4 (ต่อ): การวิเคราะห์โจทย์วิจัยด้วย SPSS, Weka, Python |
หมายเหตุ ผู้เข้าอบรมต้องติดตั้งโปรแกรม SPSS (trial) และ Weka (ตามคู่มือ) พร้อมใช้งานล่วงหน้า และเตรียมคอมพิวเตอร์ที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ เพื่อใช้ Google Colab และ AI: ChatGPT/Gemini
ทีมวิทยากร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุณี รักษาเกียรติศักดิ์
ที่ปรึกษาสมาคมศูนย์วิชาการไทย-ออสเตรเลีย
อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
รองศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย ขนาบแก้ว
รองคณบดีฝ่ายบัณฑิตศึกษาและวิจัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กำหนดการเสริม (optional)
เพื่อเสริมการเรียนรู้และฝึกทักษะเพิ่มเติม แบบออนไลน์ผ่าน Zoom 2 ครั้ง
ศุกร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2568
เวลา | หัวข้อ |
09:00 – 10:30 น. | Data Visualization ด้วย Power BI |
10:30 – 10:45 น. | พัก |
10:45 – 12:00 น. | Hackathon โจทย์ (ของผู้เข้าอบรม) / ถาม – ตอบ |
จันทร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2568
เวลา | หัวข้อ |
09:00 – 10:30 น. | ANOVA & Chi-Square เปรียบเทียบ SPSS กับ Python scipy.stat & statmodels |
10:30 – 10:45 น. | พัก |
10:45 – 12:00 น. | Hackathon โจทย์ (ของผู้เข้าอบรม) / ถาม – ตอบ |
จำนวนรับเข้าอบรม
รับจำนวนจำกัด 30 คน (ทั้ง onsite และ online แต่สนับสนุนให้อบรม onsite มากกว่า เพราะจะได้ประโยชน์เต็มที่กว่า)
ค่าสมัครในการอบรม
คนละ 3,000 บาท (ทั้ง onsite และ online)
สมาชิกสมาคม ลด 20% เหลือคนละ 2,400 บาท
(สามารถสมัครเป็นสมาชิกสมาคม โดยเสียค่าสมาชิก 1,000 บาท ตลอดชีพ)
หมายเหตุ ราคานี้เป็นราคาสุทธิแล้ว (เนื่องจากสมาคมฯ ไม่อยู่ในเงื่อนไขที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
การสมัครเข้าอบรม
โปรดกรอกรายละเอียดของผู้เข้าอบรมที่ https://forms.gle/djR8Lb8GdqJzEwY69
หรือที่เว็บสมาคม tatsc.or.th เพื่อจองการสมัคร และ ชำระค่าสมัคร ภายในวันที่ 29 กรกฎาคม 2568
โดยจ่ายเข้า บัญชีธนาคารของสมาคม ดังนี้:
ธนาคารกรุงเทพ สาขาจามจุรี สแควร์ บัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์ เลขที่: 939-0-20841-2 ชื่อบัญชี: สมาคมศูนย์วิชาการไทย-ออสเตรเลีย |
และส่งสำเนา Pay-in slip มาทาง email: tatsc2523@gmail.com
เมื่อทางสมาคมได้รับเอกสารแล้วจะตอบกลับทาง email
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ email: tatsc2523@gmail.com
หรือทางโทรศัพท์ที่ ผศ.ดร.สุณี รักษาเกียรติศักดิ์ 064 558 0368
📞 ติดต่อสอบถาม
อีเมล: tatsc2523@gmail.com
โทร: ผศ.ดร.สุณี รักษาเกียรติศักดิ์ | 064-558-0368