สมาคมศูนย์วิชาการไทย – ออสเตรเลีย ซึ่งได้ก่อตั้งขึ้นในประเทศไทยมา 30 ปีแล้ว เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร และมีความร่วมมือกับ Education Department ของสถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย ในการจัดกิจกรรมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการทางวิชาการต่างๆ จะจัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการในหัวข้อเรื่อง “การจัดระบบการบริหารความต่อเนื่องของธุรกิจเมื่อเกิดสภาวะวิกฤต ตามข้อกำหนดตามมาตรฐาน ISO 22301:2012 (ISO 22301:2012 Societal Security – Business Continuity Management Systems – Requirements)” โดยวิทยากรจากประเทศออสเตรเลีย คือ อาจารย์ ศิริ ตงศิริ และผศ.ดร. วินัย พฤกษะวัน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์สูงทางด้านนี้โดยเฉพาะ โดยกำหนดจัดการสัมมนาในวันพฤหัสบดี-ศุกร์ ที่ 19-20 มีนาคม 2558 ณ ห้องออร์คิด 4 ชั้น 11 โรงแรม Jasmine Executive Suites สุขุมวิท 23 กรุงเทพฯ โทร. 02-204-5885 (ดังกำหนดการสัมมนาที่แนบ)
การบริหารความเสี่ยงทั่วโลกในปัจจุบัน ได้ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของการบริหารความเสี่ยง ทำให้องค์กรมาตรฐานสากล (International Standard Organization -- ISO) ได้จัดทำมาตรฐานสากล ISO 22301:2012 Societal security -- Business continuity management systems --Requirements ขึ้นเพื่อให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้นำไปใช้ในการจัดการกับองค์กรเมื่อเกิดภัยพิบัติเพื่อความอยู่รอดและดำรงความต่อเนื่องของการดำเนินงานขององค์กร เนื่องจากภัยพิบัติได้เกิดขึ้นบ่อยมากในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ได้แก่ น้ำท่วมใหญ่ แผ่นดินไหว โคลนถล่ม Tsunami ตลอดจน ผู้ก่อการร้ายและการเมืองซึ่งทำความเสียหายอย่างมากมายให้แต่ละประเทศที่เกิดภัยพิบัติเหล่านี้ขึ้น การเตรียมความพร้อมและมีแผนเพื่อต่อสู้กับภัยพิบัติเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นจะช่วยลดความสูญเสียลงได้มาก และทำให้องค์กรสามารถดำรงความต่อเนื่องในการดำเนินงานและให้บริการต่อไปได้โดยไม่มีการหยุดชะงัก
รัฐบาลไทยได้ตระหนักถึงเรื่องนี้เนื่องจากเกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงในคราวน้ำท่วมใหญ่เมื่อปลายปี 2554 และโอกาสที่จะเกิดน้ำท่วมใหญ่ในประเทศไทยอีกในอนาคตยังมีความเป็นไปได้อย่างมาก รัฐบาลก็ได้พยายามกระตุ้นให้หน่วยงานของรัฐทั้งหลายให้เตรียมความพร้อม และทำแผนเพื่อรับมือกับเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่และเหตุการณ์ภัยพิบัติอื่นๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อให้เกิดความเสียหายต่อองค์กรทั้งหลายน้อยที่สุด และสามารถให้บริการขั้นต่ำสุดเพื่อดำรงความต่อเนื่องและฟื้นฟูองค์กรให้กลับคืนสู่สภาพการดำเนินงานปกติได้ภายในเวลาไม่นานเกินไป
การทำแผนเพื่อเตรียมความพร้อมที่จะรับมือกับสภาวะวิกฤตไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะผู้เขียนแผนเพื่อรับมือกับเหตุการณ์วิกฤตจะต้องมีพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับการทำแผน BCP (Business Continuity Planning) เป็นอย่างดี จึงจะเข้าใจความหมายและองค์ประกอบของแผน BCP เช่น การแต่งตั้งคณะทำงานระดับต่างๆ ที่ต้องจัดตั้งขึ้นภายในองค์กร ช่วงเวลาต่างๆของการเกิดเหตุวิกฤต และขั้นตอนของการจัดการกับเหตุวิกฤตด้วยวิธีการและทรัพยากรที่เหมาะสม เพื่อให้ฟังก์ชันวิกฤตขององค์กรสามารถดำเนินการต่อไปได้ในสภาวะวิกฤต และสามารถนำองค์กรกลับคืนสู่สภาพปฏิบัติการปกติได้ อย่างรวดเร็ว เป็นต้น
สมาคมศูนย์วิชาการไทย-ออสเตรเลีย จึงต้องการจัดการอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ขึ้น เพื่อช่วยให้องค์กรต่างๆในประเทศไทยได้เตรียมความพร้อมที่จะรับมือกับภัยพิบัติครั้งต่อไปได้เป็นอย่างดี โดยการจัดทำ/ปรับปรุงแผน BCP ที่ดีให้กับหน่วยงานของตนเอง
ผู้เข้าสัมมนาจะได้ความรู้ แนวคิด หลักการ และประโยชน์ของการทำแผนการเตรียมความพร้อมและตัวอย่างเพื่อเตรียมความพร้อมขององค์กรในการต่อสู้กับสภาวะวิกฤต เข้าใจวิธีการควบคุมสถานการณ์ฉุกเฉินเร่งด่วน รู้วิธีการดำเนินการให้เกิดความต่อเนื่องในขั้นตอนการปฏิบัติงานที่วิกฤตขององค์กร และการกู้คืนองค์กรให้กลับสู่สภาพปกติได้โดยเร็ว
นอกจากนี้ผู้เข้าสัมมนาแต่ละท่านจะสามารถจัดทำแผนการเตรียมความพร้อมขององค์กรในการรับมือกับสภาวะวิกฤตรอบใหม่และจัดทำ/ปรับปรุงแผน BCP เพื่อนำไปปฏิบัติ สำหรับองค์กรของตนเอง
การฝึกอบรมหลักสูตรนี้ ในช่วงเช้าจะเป็นการบรรยายเนื้อหาภาคทฤษฎี ส่วนช่วงบ่ายจะเป็นการทำ workshop ในการทำ workshop จะจัดแบ่งผู้เข้าสัมมนาเป็นกลุ่ม ๆ ละ 5-8 คน ตามบริบทขององค์กรๆที่คล้ายๆ กันจะจัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน โดยจะมี software เป็น templates ให้ใช้ในการทำ workshop จึงจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ notebook อย่างน้อยกลุ่มละ 1 เครื่อง ดังนั้น เพื่อให้การทำ workshopภาคปฏิบัติมีคุณภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เข้าร่วมสัมมนา จึงขอให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกท่านนำคอมพิวเตอร์ notebook มาด้วย
การบรรยายโดยวิทยากรจะเป็นภาษาไทยและสื่อการบรรยายจะใช้ powerpoint slides เป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งจะแปล technical terms เป็นภาษาไทยตามความเหมาะสม นอกจากนี้แล้ว ในการอบรมจะมีการแจก workshop templatesซึ่งช่วยในการทำงานระบุความเสี่ยงและทำแผนBCPขององค์กรให้แก่ผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกท่าน
ค่าลงทะเบียน ซึ่งจะมีเอกสารการอบรมพร้อมกระเป๋าเอกสารมอบให้ และรวมอาหารกลางวัน & อาหารว่าง เช้า-บ่าย ทุกวันอบรม : รวม 9,800.- บาท ต่อคน (2 วัน) *
*ส่วนลดพิเศษ:
ธนาคารกรุงเทพ สาขาอินทามระ บัญชีสะสมทรัพย์ เลขที่ : 138– 447–1866
ชื่อบัญชี : สมาคมศูนย์วิชาการไทย-ออสเตรเลีย