การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง
“การพัฒนาระบบสารสนเทศอัจฉริยะทางธุรกิจ โดยใช้ซอฟต์แวร์
Open Source Pentaho BI Suite, Weka & R”
(Developing Business Intelligence Information System with
Open Source Pentaho BI Suite, Weka & R)
รุ่นที่ 8
ณ โรงแรม Jasmine Executive Suites กรุงเทพฯ
วันที่ 23-27 ธันวาคม 2557
สมาคมศูนย์วิชาการไทย – ออสเตรเลีย ซึ่งได้ก่อตั้งขึ้นในประเทศไทยมากว่า 30 ปี เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร และมีความร่วมมือกับ Australian Education International ของรัฐบาลประเทศออสเตรเลียในการจัดกิจกรรมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการทางวิชาการต่างๆ มีดำริจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อที่ล้ำสมัยเพื่อความพร้อมในการดำเนินธุรกิจในสภาวะที่มีการแข่งขันสูง เรื่อง “การพัฒนาระบบสารสนเทศอัจฉริยะทางธุรกิจ โดยใช้ซอฟต์แวร์ Open Source Pentaho BI Suite, Weka & R” โดยคณะวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ นำโดย ผศ. ดร. สุณี รักษาเกียรติศักดิ์ ศิษย์เก่าออสเตรเลีย การอบรมดังกล่าวจะจัดขึ้นในวันที่ 23-27 ธันวาคม 2557 ณ ห้อง Orchid 4 ชั้น 11 โรงแรม Jasmine Executive Suites สุขุมวิท 23 กรุงเทพฯ โทร. 02-204-5885
หลักการและเหตุผล
ระบบไอทีเป็นหัวใจสำคัญที่ขับเคลื่อนการดำเนินงานขององค์กร องค์กรมีความจำเป็นต้องนำระบบไอทีมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และความถูกต้องแม่นยำของการดำเนินงานขององค์กร เริ่มตั้งแต่ระบบที่เป็นธุรกิจหลักขององค์กร เช่น ระบบซื้อ-ขาย ระบบการชำระเงิน ระบบการควบคุมสินค้าคงคลัง ระบบการผลิต ระบบลูกค้าสัมพันธ์ ระบบการลงทะเบียนเรียน ระบบ e-learning ไปจนถึงระบบการบริหารทรัพยากรภายในขององค์กร เช่น ระบบบุคลากร ระบบบัญชี การเงินและงบประมาณ และระบบประกันคุณภาพ เป็นต้น
ผลจากการใช้งาน/การประมวลผลรายการ (operational transaction processing) ของระบบไอทีทำให้เกิดระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ขององค์กร ซึ่งนับเป็นสินทรัพย์อันมีค่าขององค์กร แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ข้อมูลมากมายที่อยู่ในฐานข้อมูลไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในเชิงวิเคราะห์ เปรียบเทียบ หรือสร้างความรู้เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจขององค์กร เพื่อสนับสนุนการวางแผนเชิงกลยุทธ์และการตัดสินใจของผู้บริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถึงแม้องค์กรจะได้ทุ่มงบประมาณมากมายในการได้มาซึ่งระบบไอทีเหล่านั้นก็ตาม
สารสนเทศ ในรูปแบบของรายงานต่าง ๆ ที่เกิดจากระบบไอทีส่วนใหญ่ผู้ปฏิบัติงานเท่านั้นจะเป็นผู้ใช้ แต่สารสนเทศที่ผู้บริหารระดับสูงต้องใช้ในการวางแผนเชิงกลยุทธ์และการตัดสินใจมักนำเสนอโดย input ข้อมูลในรูปแบบตารางทำการ (Excel) ซึ่งมีความเชื่อถือได้ของสารสนเทศต่ำ เพราะสารสนเทศนั้นไม่ได้ประมวลผลมาจากข้อมูลการประมวลผลรายการจริง
เนื่องด้วยสารสนเทศหรือความรู้เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจที่จำเป็นต้องใช้ในการวางแผนเชิงกลยุทธ์และการตัดสินใจต้องมาจากข้อมูลหลายแหล่ง และต้องได้มาในเวลาอันรวดเร็ว ในรูปแบบที่ผู้บริหารเข้าใจได้ง่าย และสามารถดูสารสนเทศที่ต้องการได้หลายมุมมองตามความต้องการ และดูข้อมูลย้อนหลังได้สำหรับการวิเคราะห์ เปรียบเทียบ ซึ่งสารสนเทศที่เกิดจากระบบไอทีแต่ละระบบไม่สามารถตอบโจทย์ได้ ดังนั้นองค์กรจึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาระบบคลังข้อมูล (data warehouse) และพัฒนาระบบสารสนเทศอัจฉริยะทางธุรกิจ (Business Intelligence หรือ BI) เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ผู้บริหารระดับสูงใช้ในการวางแผนเชิงกลยุทธ์และการตัดสินใจ
การพัฒนาระบบ BI ให้ประสบความสำเร็จจำเป็นต้องมีทีมพัฒนาจาก 3 กลุ่มคือ
1) ผู้ดูแลฐานข้อมูล หรือ DBA
2) นักวิเคราะห์ข้อมูล หรือ Data Analyst และ
3) นักวิเคราะห์ธุรกิจ หรือ Business Analyst
และที่จำเป็นอย่างยิ่งคือต้องมี Application Software ที่ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน มาเป็นตัวช่วย เพราะการพัฒนา BI Solution เพื่อตอบโจทย์ธุรกิจเพื่อการแข่งขันได้ต้องสามารถได้ Solution ที่ต้องการทันต่อการใช้งาน
Pentaho BI Suite (http://www.pentaho.com/) เป็น Open Source BI Application Software ที่ใช้ Java technology และเป็นที่สนใจอย่างกว้างขวาง หลังจากได้รับรางวัล Bossie Awards 2010: The best open source applications นอกจากนั้นแล้วในการวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจยังมีซอฟต์แวร์ Open Source ที่เป็นที่นิยมในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ (Statistical data analysis) และการทำเหมืองข้อมูล (Data mining) เช่น โปรแกรม R และโปรแกรม Weka เป็นต้น
สมาคมฯ ได้จัดโครงการอบรมนี้ครั้งแรกในรุ่นที่ 1 ในวันที่ 18-20 กุมภาพันธ์ 2554 (2011) และได้รับการตอบรับอย่างดีจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา สมาคมฯ ได้จัดต่อเนื่องจนถึงรุ่นที่ 7 ในวันที่ 23-28 เมษายน 2557 โดยทีมวิทยากรได้รับเชิญให้การอบรมให้กับหน่วยงานอื่นหลายหน่วยงาน อีกทั้งทีมวิทยากรได้สร้างเครือข่ายกับหน่วยงานอื่นที่มีประสบการณ์การใช้งาน Pentaho ด้วย เช่น บริษัทโกอิ้งเจ็ส จำกัด (http://www.goingjesse.com/) ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้บริการพัฒนาระบบ BI ด้วย Pentaho เช่นในเดือนสิงหาคม-กันยายน 2556 ที่ผ่านมา ทีมวิทยากรได้เป็นวิทยากรอบรม “โครงการส่งเสริมและสนับสนุนให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์ในหน่วยงานต่างๆ นำซอฟต์แวร์ Pentaho ไปใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล” ของสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ หรือ SIPA ซึ่งจัดโดยบริษัทโกอิ้งเจ็ส ร่วมกับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ http://www.sipa.or.th/ewt_news.php?nid=1603 บริษัทเมตามีเดีย (http://pentaho.mm.co.th/) ซึ่งให้บริการระบบแผนที่ GIS ร่วมกับ Pentaho และ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ NECTEC ซึ่งใช้ Pentaho ในส่วนของ Analytics ในโครงการ “การจัดทำคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพระดับจังหวัด และระบบเชื่อมโยงข้อมูลภายใน 5 จังหวัดนำร่องและส่วนกลาง (MOPH's NHIS-5 Data Center Project)”
หลักสูตรที่เปิดอบรม
ในการอบรมครั้งนี้ จะมี 2 หลักสูตรด้วยกันคือ
หลักสูตร 1: Pentaho BI Basic (อบรมวันอังคาร-พุธ-พฤหัส ที่ 23-25 ธันวาคม 2557)
คือหลักสูตรที่เคยจัดมาในการอบรมครั้งก่อน ๆ ซึ่งการอบรมจะเป็นแบบ Problem-based training โดยจะเน้นเครื่องมือหลัก 4 ตัวคือ Report Designer สำหรับสร้างรายงาน, Schema Workbench สำหรับสร้าง OLAP Cube, Data Integration สำหรับทำ ETL, Community Dashboard Editor (CDE) สำหรับสร้าง Dashboard
หลักสูตร 2: Data Mining with Weka & R (อบรมวันศุกร์-เสาร์ ที่ 26-27 ธันวาคม 2557)
เป็นหลักสูตรใหม่ที่เน้นกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ (Statistical Data Analysis) ด้วยโปรแกรม R การทำเหมืองข้อมูล (Data Mining) ด้วยโปรแกรม Weka และ Deploy model ที่ได้จาก Weka เข้า Pentaho BI เพื่อนำผลลัพธ์ไปใช้งานต่อไป
ในการอบรมนี้จะใช้ Pentaho version 5 ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ใหม่ต่างจาก Pentaho version 4 มาก และใช้ฐานข้อมูล PostgreSQL (แต่ Pentaho BI Suites สามารถใช้กับฐานข้อมูลได้หลากหลาย)
ทั้งนี้ผู้เข้าอบรมหลักสูตร 2 ต้องผ่านการอบรมหลักสูตร 1 มาก่อน (จากการอบรมรุ่นใดก็ได้ )
วัตถุประสงค์
หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ
กลุ่มเป้าหมาย
การอบรมครั้งนี้เหมาะสำหรับนักไอทีของหน่วยงาน อาจารย์ผู้สอนไอที ผู้บริหาร หัวหน้าหน่วยงาน ผู้จัดการทุกระดับ และบุคลากรที่สนใจจะพัฒนาระบบ BI ของงานที่ตนเองรับผิดชอบ ผู้เข้าอบรมควรมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับฐานข้อมูล และคำสั่ง SQL (แต่ไม่จำเป็นต้องจำคำสั่งได้) หากไม่มี แต่สนใจจะศึกษาหลักการของ BI ในฐานะ Business Analyst ควรจะสมัครมาเป็นคู่โดยมากับนักไอทีของหน่วยงาน
จำนวนรับเข้าอบรมและคุณสมบัติของผู้เข้าอบรม
รับจำนวนจำกัด หลักสูตรละ 30 คน
โดย ผู้สมัครต้องนำคอมพิวเตอร์โน้ตบุคของตนเองมา ซึ่งต้องมีคุณสมบัติดังนี้
RAM: at least 4 GB Hard drive space: at least 10 GB Processor: at least Core i5 หมายเหตุ ไม่แนะนำเครื่อง Mac หากผู้เข้าอบรมใช้เครื่อง Mac ต้องมีความชำนาญในการใช้ Virtual Machine ของ Windows บนเครื่อง Mac เอง |
วิธีการอบรม
บรรยายภาพรวมของทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้อง สำหรับภาคปฏิบัติการวิทยากรจะสาธิตตามคู่มือ Step by step และให้ผู้เข้าอบรมปฏิบัติตาม
โจทย์ที่ใช้ปฏิบัติการจะเป็นตัวอย่างและข้อมูลจริงที่ต่อเนื่องกัน (อบรมแบบ Problem based)
ค่าลงทะเบียน ซึ่งจะมีเอกสารการอบรม ซอฟต์แวร์ที่ใช้อบรมทั้งหมด ได้แก่ Pentaho BI Suite ทั้ง Enterprise Edition และ Community Edition, Java, ฐานข้อมูล PostgreSQL โปรแกรม Weka, โปรแกรม R และ Utilities ที่จำเป็น พร้อมกระเป๋าเอกสารมอบให้ และรวมอาหารกลางวัน & อาหารว่าง เช้า-บ่าย ทุกวันอบรม
หลักสูตร 1 (3 วัน) : คนละ 13,000 บาท
หลักสูตร 2 (2 วัน) : คนละ 9,000 บาท
หลักสูตร 1 และ หลักสูตร 2 (5 วัน) : คนละ 20,000 บาท
ส่วนลดพิเศษ: ผู้ที่สมัครและชำระค่าอบรมก่อน 5 ธันวาคม 2557
จะได้ส่วนลดพิเศษ1,000.- บาท ต่อคนต่อ 1 หลักสูตร
โปรดกรอกรายละเอียดของผู้เข้าอบรม และชำระค่าสมัครตามรายละเอียดในใบสมัครที่แนบ
โดยจ่ายเข้า บัญชีธนาคารของสมาคมศูนย์วิชาการไทย-ออสเตรเลีย ดังนี้:
|
และส่งใบสมัครพร้อมสำเนา Pay-in slip มาทางemail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. This e-mail address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it
อนึ่ง สำหรับผู้เข้าอบรมที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย โปรดออกเอกสารการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามรายละเอียดดังนี้ สมาคมศูนย์วิชาการไทย-ออสเตรเลีย เลขประจำตัวผู้เสียภาษี 0993-000-178998 ที่อยู่ 968 ชั้น 9 อาคารอื้อจือเหลียง ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500 |
หมายเหตุ :
1) สมาคมสงวนสิทธิ์ที่จะยกเลิกการอบรมในกรณีที่มีผู้สนใจเข้าร่วมสัมมนาจำนวน น้อยเกินไปโดยทางสมาคมฯ จะโอนเงินคืนให้ท่านในกรณีที่ท่านได้มีการชำระมาก่อนล่วงหน้า
2) หากท่านมีข้อสงสัยประการใด โปรดติดต่อ คุณชนมนฑ์ ปรีชาแพทย์
โทร 085 329 8517 หรือ e-mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. This e-mail address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it
หลักสูตร 1: PentahoBI Basic (อบรมวันที่ 23-25 ธันวาคม 2557)
วันอังคารที่ 23 ธันวาคม การใช้งานสำหรับผู้ใช้ (Pentahofor User)
08:00 – 08:45 น. ลงทะเบียน
09:00 – 10:10 น. หัวข้อที่ 1: แนวคิด หลักการ และประโยชน์ ของ “Business Intelligence”
ภาพรวมของระบบ PentahoBusiness Intelligence (Pentaho BI)
ติดตั้งระบบ PentahoEnterpriseEdition (PentahoEE)
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุณี รักษาเกียรติศักดิ์ และคณะ
10:10 – 10:30 น. หยุดพักรับประทานอาหารว่าง
10:30 – 11:00 น. หัวข้อที่ 2: โจทย์สำหรับทำ BI:
กรณีศึกษาของระบบงานบุคคล (HumanResource)
การออกแบบ Data Model
การนำข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์เข้าฐานข้อมูล Postgres
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุณี รักษาเกียรติศักดิ์ และคณะ
11:00 – 12:00 น. หัวข้อที่ 3: ทดลองใช้ระบบในฐานะผู้ใช้ (Users)
Reporting, Analysis(OLAPCube), Dashboard
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุณี รักษาเกียรติศักดิ์ และคณะ
12:00 – 13:00 น. หยุดพักรับประทานอาหารกลางวัน
13:00 – 15:00 น. หัวข้อที่ 4:หลักการและปฏิบัติการ: การสร้างรายงาน (Reporting)
Ad Hoc Report ผ่านเว็บ
โดย อาจารย์ศศิวิมล สุขพัฒน์ และคณะ
15:00 – 15:20 น. หยุดพักรับประทานอาหารว่าง
15:20 – 17:00 น. หัวข้อที่ 5:หลักการและปฏิบัติการ: การสร้าง Dashboard ผ่านเว็บ
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุณี รักษาเกียรติศักดิ์ และคณะ
09:00 - 10.10 น. หัวข้อที่ 1:การติดตั้งระบบ PentahoCommunity Edition(PentahoCE)
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุณี รักษาเกียรติศักดิ์ และคณะ
10:10 – 10:30 น. หยุดพักรับประทานอาหารว่าง
10:30 – 12:00 น. หัวข้อที่ 2:หลักการและปฏิบัติการ: การสร้างรายงาน (Reporting)
โดยใช้ ReportDesigner
โดยอาจารย์ศศิวิมล สุขพัฒน์ และคณะ
12:00 – 13:00 น. หยุดพักรับประทานอาหารกลางวัน
13:00 – 15:00 น. หัวข้อที่ 3:หลักการและปฏิบัติการ: การใช้ SchemaWorkbench สำหรับสร้าง OLAP Cube
โดย อาจารย์ ดร.วราภรณ์ วิยานนท์ และคณะ
15:00 – 15:20 น. หยุดพักรับประทานอาหารว่าง
15:20 – 17:00 น. หลักการและปฏิบัติการ: การใช้ Schema Workbench (ต่อ)
วันพฤหัสบดีที่ 25 ธันวาคม
09:00 – 10.10 น. หัวข้อที่ 4:หลักการและปฏิบัติการ: การใช้ Data Integration สำหรับจัดเตรียมข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ ExtractTransform & Load(ETL)
โดย อาจารย์เรืองศักดิ์ ตระกูลพุทธิรักษ์ และคณะ
10:10 – 10:30 น. หยุดพักรับประทานอาหารว่าง
10:30 – 12:00 น. หัวข้อที่ 4:หลักการและปฏิบัติการ: การใช้ Data Integration (ต่อ)
12:00 – 13:00 น. หยุดพักรับประทานอาหารกลางวัน
13:00 – 15:00 น. หัวข้อที่ 5:หลักการและปฏิบัติการ: การใช้ CommunityDashboardEditor(CDE) สำหรับสร้าง Dashboard
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วราภรณ์ วิยานนท์ และคณะ
15:00 – 15:20 น. หยุดพักรับประทานอาหารว่าง
15:20 – 16:15 น. หัวข้อที่ 5:หลักการและปฏิบัติการ: การใช้ CommunityDashboardEditor(CDE) (ต่อ)
16:15 – 16:30 น. แจกประกาศนียบัตร
16:30 – 17:00 น. สรุปการอบรม และ ตอบคำถามผู้เข้าอบรม
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุณี รักษาเกียรติศักดิ์ และคณะ
ผู้ช่วยวิทยากร: นิสิตเอกวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มศว
หลักสูตร 2: Data miningwith Weka &R(อบรมวันที่ 26-27 ธันวาคม 2557)
วันศุกร์ที่ 26 ธันวาคม
08:00 – 08:30 น. ลงทะเบียน
08:30 – 09:30 น. ติดตั้ง PentahoCE with CTools (สำหรับผู้ที่ไม่ได้อบรมหลักสูตร 1 ในรอบนี้)
09:30 – 10:10 น. ติดตั้งโปรแกรม R และ Weka
10:10 – 10:30 น. หยุดพักรับประทานอาหารว่าง
10:30 – 12:00 น. โจทย์สำหรับทำเหมืองข้อมูล: “การทำเหมืองข้อมูลของระบบการจัดการเรียนออนไลน์: กรณีศึกษาของระบบ ATutor” ที่ http://ejournals.swu.ac.th/index.php/ssj/article/viewFile/847/846
การออกแบบ Datamodel สำหรับการวิเคราะห์
การสร้าง Database Schema ด้วย Power Architect
12:00 – 13:00 น. หยุดพักรับประทานอาหารกลางวัน
13:00 – 15:00 น. การใช้โปรแกรม R ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ (DescriptiveStatistics, T-test, One way ANOVA, Chi-square, Correlation & Regression &Non-parametric Statistics)
15:00 – 15:20 น. หยุดพักรับประทานอาหารว่าง
15:20 – 17:00 น. การใช้โปรแกรม R ในการวิเคราะห์ข้อมูล (ต่อ)
09:00 - 10.10 น. แนวคิดและหลักการการทำเหมืองข้อมูล
10:10 – 10:30 น. หยุดพักรับประทานอาหารว่าง
10:30 – 12:00 น. ปฏิบัติการ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วย WekaExplorer
(Classification/Prediction, Clustering, Association)
12:00 – 13:00 น. หยุดพักรับประทานอาหารกลางวัน
13:00 – 15:00 น. ปฏิบัติการ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วย WekaKnowledgeFlow (GUI)
15:00 – 15:20 น. หยุดพักรับประทานอาหารว่าง
15:20 – 16:15 น. ปฏิบัติการ การ DeployModel จาก WekaKnowledge Flow เข้าใน PentahoData Integration ผ่าน PentahoWekaScoringPlugin
16:15 – 16:30 น. แจกประกาศนียบัตร
16:30 – 17:00 น. สรุปการอบรม และ ตอบคำถามผู้เข้าอบรม
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุณี รักษาเกียรติศักดิ์ และคณะ
วิทยากรหลัก: ผู้ช่วยศาสตร์จารย์ ดร.สุณี รักษาเกียรติศักดิ์ และ อาจารย์เรืองศักดิ์ ตระกูลพุทธิรักษ์
ผู้ช่วยวิทยากร: นิสิตเอกวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มศว
แผนที่โรงแรม Jasmine Executive Suites