(ISO 22301:2012 Societal Security – Business Continuity Management
Systems – Requirements)
ณ โรงแรม Jasmine Executive Suites กรุงเทพฯ
วันพุธ-พฤหัสบดีที่ 20-21 พฤศจิกายน 2556
สมาคมศูนย์วิชาการไทย – ออสเตรเลีย ซึ่งได้ก่อตั้งขึ้นในประเทศไทยมา 30 ปีแล้ว
เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร และมีความร่วมมือกับ Australian Education International ของรัฐบาลประเทศออสเตรเลีย ในการจัดกิจกรรมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการทางวิชาการต่างๆ จะจัดการสัมมนา
เชิงปฏิบัติการในหัวข้อเรื่อง “การจัดระบบการบริหารความต่อเนื่องของธุรกิจเมื่อเกิดสภาวะวิกฤต ตามข้อกำหนดตามมาตรฐาน ISO 22301:2012(ISO 22301:2012Societal Security – Business Continuity Management Systems – Requirements)” โดยวิทยากรจากประเทศออสเตรเลีย คือ อาจารย์ ศิริ ตงศิริ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์สูงทางด้านนี้โดยเฉพาะ โดยกำหนดจัดการสัมมนาในวันพุธ-พฤหัสบดีที่ 20-21 พฤศจิกายน 2556ณ ห้องลิลลี่ 1 และ 2 ชั้น L โรงแรม Jasmine Executive Suites สุขุมวิท 23 กรุงเทพฯ โทร. 02-204-5885 (ดังกำหนดการสัมมนาที่แนบ)
ความจำเป็นของหลักสูตร
การบริหารความเสี่ยงทั่วโลกในปัจจุบัน ได้ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของการบริหารความเสี่ยง ทำให้องค์กรมาตรฐานสากล (International Standard Organization -- ISO) ได้จัดทำมาตรฐานสากล
ISO 22301:2012 Societal security -- Business continuity management systems --Requirements ขึ้นเพื่อให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้นำไปใช้ในการจัดการกับองค์กรเมื่อเกิดภัยพิบัติเพื่อความอยู่รอดและดำรงความต่อเนื่องของการดำเนินงานขององค์กร เนื่องจากภัยพิบัติได้เกิดขึ้นบ่อยมากในช่วงระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา ได้แก่ น้ำท่วมใหญ่ แผ่นดินไหว โคลนถล่ม ตลอดจน Tsunami ซึ่งทำความเสียหายอย่างมากมายให้แต่ละประเทศที่เกิดภัยพิบัติเหล่านี้ขึ้น การเตรียมความพร้อมและมีแผนเพื่อต่อสู้กับภัยพิบัติเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นจะช่วยลดความสูญเสียลงได้มากมาย และทำให้องค์กรสามารถดำรงความต่อเนื่องในการดำเนินงานและให้บริการต่อไปได้โดยไม่มีการหยุดชะงัก ซึ่งรัฐบาลไทยได้ตระหนักถึงเรื่องนี้เนื่องจากเกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงในคราวน้ำท่วมใหญ่เมื่อปลายปี 2554 และในขณะที่การเยียวยาและการซ่อมแซมความเสียหายเนื่องจากน้ำท่วมคราวที่แล้วยังไม่เรียบร้อยดี โอกาสที่จะเกิดน้ำท่วมใหญ่ในประเทศไทยอีกในอนาคตยังมีความเป็นไปได้
ในขณะที่รัฐบาลไทยได้มีโครงการต่าง ๆ เพื่อเตรียมรับมือกับน้ำท่วมใหญ่ที่อาจจะเกิดขึ้นภายในปีนี้ เช่น การขุดรอกคูคลอง การซ่อมแซมประตูกั้นน้ำ การทดลองระบบระบายน้ำแบบองค์รวมทั้งฝั่งตะวันตก และฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ ฯลฯ รัฐบาลก็ได้พยายามกระตุ้นให้หน่วยงานของรัฐทั้งหลายให้เตรียมความพร้อม และทำแผนเพื่อรับมือกับเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่และเหตุการณ์ภัยพิบัติอื่นๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อให้เกิดความเสียหายต่อองค์กรทั้งหลายน้อยที่สุด และสามารถดำรงความต่อเนื่องและฟื้นฟูองค์กรให้กลับคืนสู่สภาพการดำเนินงานปกติได้โดยเร็ว ทั้งนี้ รัฐบาลได้ส่งคำถามเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมที่จะรับมือกับสภาวะวิกฤตในรูปของ Checklists ให้องค์กรต่าง ๆ ได้ตอบคำถามเหล่านั้นและส่งคืนให้รัฐบาลเพื่อทำการตรวจสอบ เพื่อให้องค์กรทั้งหลายได้ตระหนักและรีบจัดการตระเตรียมความพร้อมและทำแผนให้พร้อมที่จะรับมือกับสภาวะวิกฤตที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต
อนึ่ง ในการตอบคำถามเหล่านั้นและการทำแผนเพื่อเตรียมความพร้อมที่จะรับมือกับสภาวะวิกฤตไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะผู้ตอบคำถามจะต้องมีพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับการทำแผน BCP (Business Continuity Planning)เป็นอย่างดี จึงจะเข้าใจความหมายของคำเฉพาะที่ใช้ในเรื่อง BCPเช่น คณะกรรมการระดับต่างๆ ที่ต้องจัดตั้งขึ้น และระยะเวลาต่าง ๆ ที่กล่าวถึงในการผจญกับสภาวะวิกฤต เป็นต้น
สมาคมศูนย์วิชาการไทย-ออสเตรเลีย จึงจัดการอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ขึ้น เพื่อช่วยให้องค์กรต่างๆ ได้เตรียมความพร้อมที่จะรับมือกับภัยพิบัติได้ พร้อมทั้งตอบคำถามของรัฐบาลและสามารถทำแผน BCP ที่ดีให้กับหน่วยงานของตนเอง
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้าสัมนามีความรู้ในแนวคิด หลักการ และประโยชน์ของการบริหารความเสี่ยงตามมาตรฐาน ISOใหม่ คือ ISO 22301:2012 Societal security – Business continuity management systems – Requirements
2. เพื่อให้ผู้เข้าสัมมนาเกิดความเข้าใจ วิธีการควบคุมสถานการณ์เร่งด่วน ในยามที่เกิดสภาวะวิกฤตที่ส่งผลกระทบต่อองค์กร และสามารถดำเนินกิจการได้อย่างต่อเนื่องหรือเกิดการหยุดชะงักน้อยที่สุด
3. เพื่อให้ผู้เข้าสัมมนาสามารถทำแผน BCPและตอบคำถามของรัฐบาลที่เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมขององค์กรเพื่อรับมือกับสภาวะวิกฤตรอบใหม่ได้อย่างถูกต้อง
ประโยชน์ที่จะได้รับจากการอบรม
ผู้เข้าสัมมนาจะมีความรู้ในแนวคิด หลักการ และประโยชน์ของการทำแผนเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับสภาวะวิกฤต เข้าใจวิธีการควบคุมสถานการณ์เร่งด่วน การดำเนินการให้เกิดความต่อเนื่องในขั้นตอนการปฏิบัติงานที่วิกฤตขององค์กร และการกู้คืนองค์กรให้กลับสู่สภาพปกติโดยเร็ว
นอกจากนี้ผู้เข้าสัมมนาแต่ละท่านจะสามารถตอบคำถามของรัฐบาลเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมขององค์กรในการรับมือกับสภาวะวิกฤตรอบใหม่และจัดทำ/ปรับปรุงแผน BCPการนำไปปฏิบัติ การติดตามและการประเมินผล สำหรับองค์กรของตนเอง
ลักษณะการฝึกอบรม
การฝึกอบรมหลักสูตรนี้ ในช่วงเช้าจะเป็นการบรรยายเนื้อหาภาคทฤษฎี ส่วนช่วงบ่ายจะเป็นการทำ Workshop และช่วงบ่ายของวันที่สองจะเป็นการแนะแนวการตอบคำถามของรัฐบาลที่ถามมาทั้งหมด (เฉลยคำตอบ) ซึ่งแต่ละองค์กรก็จะตอบไม่เหมือนกันเพราะมีบริบทของตนเองซึ่งแตกต่างจากองค์กรอื่น
ในการทำ Workshop จะจัดแบ่งผู้เข้าสัมมนาเป็นกลุ่ม ๆ ละ 5-8 คน ตามบริบทขององค์กรที่คล้าย ๆ กันให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน โดยจะมี software เป็น templates ให้ใช้ในการทำ Workshop จึงจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ notebook อย่างน้อยกลุ่มละ 1 เครื่อง ดังนั้น เพื่อให้การทำภาคปฏิบัติมีคุณภาพและเกิดประโยชน์ต่อผู้เข้าสัมมนา จึงขอให้ผู้เข้าสัมมนาทุกท่านนำคอมพิวเตอร์ notebook มาด้วย
การบรรยายโดยวิทยากรจะเป็นภาษาไทยและสื่อการบรรยายใช้ Powerpoint Slide เป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งจะแปล Technical terms เป็นภาษาไทยตามความเหมาะสม นอกจากนี้แล้ว ในการอบรมจะมีการแจก Workshop Templates ซึ่งช่วยในการระบุความเสี่ยงขององค์กรให้แก่ผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกท่าน
วิทยากร
1) อาจารย์ศิริ ตงศิริ Risk Manager :
ประสบการณ์และความสำเร็จ
2) ดร. วินัย พฤกษะวัน
ประสบการณ์การทำงาน/กิจกรรมทางวิชาการ
- อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- อดีตรองประธานอำนวยการโครงการดาวเทียมอเนกประสงค์ขนาดเล็ก SMMS
- อดีตกรรมการบริหารคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- อดีตผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
- อดีตรองประธานกรรมการบริหารความเสี่ยง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- อดีตกรรมการพัฒนาระบบควบคุมภายใน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- ที่ปรึกษาพิเศษการบริหารความเสี่ยง การรถไฟแห่งประเทศไทย
- ที่ปรึกษาสมาคมศูนย์วิชาการไทย-ออสเตรเลีย
- อดีตรองผู้อำนวยการศูนย์ออสเตรเลียศึกษา
- อดีตกรรมการควบคุมมาตรฐานมหาวิทยาลัยเอกชน ของทบวงมหาวิทยาลัย (สาขาไฟฟ้า)
- อดีตกรรมการวิศวศึกษา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ว.ส.ท.)
- กรรมการมาตรฐานป้องกันฟ้าผ่า วสท
- กรรมการมาตรฐานอุตสาหกรรม กว.129 มาตรฐานความปลอดภัยเครื่องใช้ไฟฟ้า
ค่าใช้จ่ายในการสัมมนา
ค่าลงทะเบียน ซึ่งจะมีเอกสารการอบรมพร้อมกระเป๋าเอกสารมอบให้ และรวมอาหารกลางวัน & อาหารว่าง เช้า-บ่าย ทุกวันอบรม : รวม 9,800.- บาท ต่อคน (2 วัน)*
*ส่วนลดพิเศษ:
1) ผู้ที่สมัครและชำระค่าสัมมนาก่อน 15 ตุลาคม 2556
จะได้ส่วนลดพิเศษ 500.- บาท
2) ผู้สมัครจากองค์กรเดียวกัน 3 คนขึ้นไป
จะได้ส่วนลดพิเศษเพิ่มอีกคนละ 500.- บาท
โปรดกรอกรายละเอียดของผู้เข้าอบรม และชำระค่าสมัครตามรายละเอียดใน “ใบสมัคร” ที่แนบ และชำระค่าสมัครข้างต้น ก่อนวันอบรม โดยจ่ายเข้า บัญชีธนาคารของสมาคมศูนย์วิชาการไทย-ออสเตรเลีย ดังนี้ :
|
และ ส่งใบสมัครพร้อมสำเนา Pay-in slip มาที่ email : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. This e-mail address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it โดยพิมพ์ข้อมูลให้ครบถ้วนตามแบบฟอร์มในหน้าใบสมัครพร้อมแนบ Pay-in slip มาด้วย
|
หมายเหตุ : หากท่านมีข้อสงสัยประการใด โปรดติดต่อ คุณชนมณฑ์ ปรีชาแพทย์
โทร 085 329 8517 หรือ e-mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. This e-mail address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it
|
วันที่ 20 พฤศจิกายน 2556
08.00 - 08.45 |
ลงทะเบียนผู้เข้าอบรม |
08.45 - 09.00 |
พิธีเปิดการอบรม |
09.00 - 10.30 |
Modern approach to manage disruption related risk
|
10.30 – 10.50 |
พักทานอาหารว่าง-ชา/กาแฟ |
10.50 – 12.00 |
Introduction to Commencement
|
12.00 – 13.00 |
พักทานอาหารกลางวัน |
13.00 – 14.00 |
Risk and Vulnerability Analysis
|
14.00 – 15.00 |
Conduct a Business Impact Analysis
|
15.00 – 15.20 |
พักทานอาหารว่าง-ชา/กาแฟ |
15.20 – 17.00 |
Develop Strategies
|
วันที่ 21 พฤศจิกายน 2556
09.00 – 10.30 |
Developing Resource Requirements and Writing Plans
|
10.30 – 10.50 |
พักทานอาหารว่าง-ชา/กาแฟ |
10.30 – 12.00 |
Developing Resource Requirements and Writing Plans (Continued) |
12.00 - 13.00 |
พักทานอาหารกลางวัน |
13.00 – 13.30 |
Training, Maintaining and Testing Plans
|
13.30 – 15.15 |
Establishing Effective Incident Control Systems (ICS) How to set up a crisis management structure in your organization and effectively implement your Business Continuity Plan. Having a good Business Continuity Plan does not necessarily lead to effective business continuity at the time of crisis. An effective ICS will ensure effective implementation of a BCP. This session will show you how to establish an effective ICS to manage a crisis. |
15.15 – 15.35 |
พักทานอาหารว่าง-ชา/กาแฟ |
15.35 – 16.45 |
Workshop on Government Requirements |
16.30 – 17.00 |
พิธีมอบประกาศนียบัตรให้ผู้เข้าอบรม |
แผนที่โรงแรม Jasmine Executive Suites
Last Updated (Wednesday, 08 January 2014 02:31)